UNDERGRADUATE NORMAL PROGRAM

การรับสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี

ข้อมูลหลักสูตร

สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ข้อมูลทั่วไป
1. ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)
(ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Civil Engineering)
3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร (ถ่ามี)
วิศวกรรมโยธา
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
150 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
 หลักสูตรปริญญาตรี
5.2 ภาษาที่ใช่
 หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
5.3. การรับเข้าศึกษา
 รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้ดี

การขอรับรองหลักสูตรตามมาตรฐานหลักสูตร TABEE

วัตถุประสงค์การศึกษา (Program Educational Objective, PEO)

PEO-1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรที่มีความรู้และทักษะทางด้านวิศวกรรมโยธาตามความต้องการของประเทศ รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลที่หลากหลายที่ช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศและภูมิภาคอาเซียน

PEO-2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรโยธาที่เป็นผู้มีวินัย ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ และอดทน เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร

PEO-3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรโยธาที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านวิศวกรรมโยธาให้สูงขึ้น ได้ด้วยตนเองเพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมโยธา

PEO-4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรโยธาที่สามารถบริหารโครงการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และสามารถสร้างหรือใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสภาวะแวดล้อม และสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Program Outcome, PO)

นักศึกษาที่จบหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จะมีความสามารถดังนี้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-1: ความรู้ด้านวิศวกรรม และพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรม

สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์เพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางวิศวกรรม หรือนิยามและประยุกต์วิธีการกระบวนงาน กระบวนการหรือระบบงานทางวิศวกรรมในการทำงานได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-2: การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม

สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นทางเอกสาร และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนจนได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยใช้หลังการและเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-3: การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา

สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทางวิศวกรรมตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสังคม ความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อม หรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-4: การพิจารณาตรวจสอบ

สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผล งานและปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-5: การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย

สามารถสร้าง เลือก และประยุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-6: การทำงานร่วมกันเป็นทีม

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-7: การติดต่อสื่อสาร

สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยวาจาด้วยการเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและการอ่านแบบทางวิศวกรรม ตลอดจนสามารถออกคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-8: กิจกรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และวิชาชีพวิศวกรรม

มีความเข้าใจและมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมต่อบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อมและสามารถการประเมินผลกระทบของการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-9: จรรยาบรรณวิชาชีพ

มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-10: การบริหารงานทางวิศวกรรมและการลงทุน 

มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุนและการบริหารงานวิศวกรรมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง PO-11: ความรู้ตลอดชีพ

ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ

พันธกิจของสถาบัน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

PEO-1

PEO-2

PEO-3

PEO-4

1. การจัดการเรียนการสอน: ผลิตกำลังคนตรงกับความต้องการของประเทศ เพื่อช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศและภูมิภาคอาเซียน

×

   

2. การวิจัย: สร้างงานวิจัย/องค์ความรู้/นวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมประเทศ

  

×

×

3. การบริการวิชาการ: ถ่ายทอดเทคโนโลยี/องค์ความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม

   

×

4. ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม: ใช้เทคโนโลยีเพื่อทำนุบำรุง เผยแพร่และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย

 

×

  

เกณฑ์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PO)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

PEO1

PEO2

PEO3

PEO4

PO-1: ความรู้ด้านวิศวกรรม และพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรม

x

 

 

 

PO-2: การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม

x

 

x

x

PO-3: การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา

x

x

x

x

PO-4: การพิจารณาตรวจสอบ

x

 

x

 

PO-5: การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย

 

 

 

x

PO-6: การทำงานร่วมกันเป็นทีม

x

 

 

 

PO-7: การติดต่อสื่อสาร

x

 

 

 

PO-8: กิจกรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และวิชาชีพวิศวกรรม

 

 

 

x

PO-9: จรรยาบรรณวิชาชีพ

 

x

 

 

PO-10: การบริหารงานทางวิศวกรรมและการลงทุน

 

 

 

x

PO-11: ความรู้ตลอดชีพ

 

 

x

 

Scroll to Top