"K-ENGINEERING SENOIR PROJECT CONTEST 2020 วันที่ 26-27 มิถุนายน 2565

K-ENGINEERING Senior Project Contest 2022 ในรูปแบบ Minimal ภายใต้มาตรการโควิด-19 ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบ คุณครูและน้องๆนักเรียนเป็นอย่างดี
——————————-
กิจกรรมในงานมากมาย
🏆ชิ้นงานโปรเจคที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม พร้อมการแข่งขันความเป็นสุดยอดโปรเจคแห่งปี
🦾โครงการ Professional Skills อบรมน้อง ๆ วิศวะด้วย skills ที่จำเป็นพร้อมออกไปทำงาน
🍳Start Up Incubation โดย FoodInnopolish ร่วมมือกับคณะอุตสาหกรรมอาหาร ปั้นน้องสู่ธุรกิจอาหารโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่
💻 Metaverse 3D Coding Challenge ให้น้อง ๆ ได้เข้าสู่โลก Metaverse

GUIDELINES FOR DESIGNING ACRYLIC GUARDRAIL SHINKOLITE

แนวทางการออกแบบราวกันตกแผ่นอะคริลิกชินโคไลท์

Mr. Khanathip Rounghirun
Mr. Theerapong Chumruksa

นาย คะณาธิป เรืองหิรัญ
นาย ธีรพงศ์ ชุมรักษา

Advisor: Asst. Prof. Dr. Arthit Petchsasithon

การศึกษาหามาตรฐานราวกันตกไทยและต่างประเทศ นำมาตรฐานการทดสอบ อเมริกาและยุโรปมาศึกษาแนวทางความปลอดภัยราวกันตก และวิเคราะห์แรงลมของราวกันตกในไทย โดยศึกษาผ่านราวกันตก กระจกเทมเปอร์และอะคริลิก shinkolite (ผู้สนับสนุนการทำโปรเจ็ค)และแนวทางการออกแบบราวกันตกที่ปลอดภัยในไทย

Cyclic Behavior of High Strength Steel on Tall Buildings under Earthquake Loading

การศึกษาพฤติกรรมวัฏจักรของเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงของอาคารสูงภายใต้แรงแผ่นดินไหว

นางสาววินิทรา วาสประสงค์
นางสาววิริยะดา สารขันธ์
นางสาวสุชิรา มาศงามเมือง

Advisor: Asst. Prof. Dr. Natdanai Sinsamutpadung
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฎฐ์ดนัย สินสมุทรผดุง

การศึกษาสถิติการเกิดแผ่นดินไหวของประเทศไทยในอดีต พบว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางถึงรุนแรง จนในปี พ.ศ 2557 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 Magnitude ที่จังหวัดเชียงรายที่ทำให้อาคารสูงในกรุงเทพรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน ได้สร้างความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย อีกทั้ง ประเทศไทยมีความต้องการที่อยู่อาศัยมีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับข้อจำกัดการใช้ที่ดิน จึงมีการพัฒนารูปแบบที่อยู่อาศัยจากแนวราบเป็นแนวสูงดังนั้นโครงสร้างเหล็กเป็นหนึ่งในตัวเลือกของโครงสร้างอาคารสูงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการดูดซับพลังงานของเหล็ก จากคุณสมบัติความเหนียวของวัสดุ รวมถึงการพัฒนาทางวัสดุศาสตร์ของเหล็กในปัจจุบันที่มีการปรับปรุงในกระบวนการผลิตและสามารถผลิตเหล็กที่มีความแข็งแรงสูงได้ แต่โครงสร้างเหล็กกำลังสูงภายใต้แรงแผ่นดินไหวยังไม่ชัดเจน ทำให้ผู้วิจัยเล็งเห็นปัญหาในเรื่องนี้ จึงได้จัดทำวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมแบบวัฏจักรของอาคารสูงโครงสร้างเหล็กกำลังสูงภายใต้แรงแผ่นดินไหว

Lightweight concrete mixed biochar

คอนกรีตมวลเบาผสมไบโอชาร์

นาย กฤษณะ ปานสุข
นาย พลพล มุกดา
นาย อธิวุฒิ กันฟัก

Assoc. Prof. Dr.Laemthong Laokhongthavorn
Assoc. Prof. Dr.Viroon Kamchoom

รศ.ดร แหลมทอง เหล่าคงถาวร
รศ.ดร วิรุฬห์ คำชุม

ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตคอนกรีตมวลเบาโดยการแทนที่ทรายด้วยไบโอชาร์

Material Flow Analysis for Lithium-ion battery waste management in Thailand

การวิเคราะห์ผังการไหลสำหรับการจัดการแบตเตอรี่ลิเธียมที่ใช้แล้วในประเทศไทย


นายเมธานันท์ ติละกุล
นาย พิทยุตม์ กิริวัฒนศักดิ์
นาย วทัญญู ชัยธนสกุล

Mr. Pitdhayuth Kiriwattanasak
Mr. Watunyu Chaitanasakul
Mr. Maythanan Tilakul

Advisor: Asst. Prof. Dr. Chodchanok Attaphong

การวิจัยเรื่องการนำแบตเตอรี่ ลิเธียมที่ใช้แล้วมารีไซเคิลหาโลหะมีค่าเพื่อนำกลับไปใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กหล่อเพื่อลดการกำจัดขยะอันตรายอย่างผิดวิธีและลดมลพิษจากการทำเหมืองแร่ควบคุมโดยผังการไหลสำหรับควบคุมการจัดการวัสดุ

Scroll to Top